กูย

  1. ชื่อชนเผ่า กูย ( KUI )หรือ   กูยอะจึง  หรือ กุย  หรือ  กูย โกย หรือกวยซึ่งแปลว่า “คน” คนต่างวัฒนธรรม มักเรียกชาวกูยว่า ส่วย หรือ เขมรป่าดง  ซึ่งชาวกูย ไม่ยอมรับชื่อนี้
  2. ประวัติความเป็นมา

มีถิ่นเดิมอยู่บริเวณตอนเหนือของเมืองกำปงธม ประเทศกัมพูชา ชาวกูยเคยเป็นรัฐอิสระ ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๐ เคยส่งทูตมาค้าขายกับอยุธยาและเคยช่วยกษัตริย์เขมรปราบขบถ ต่อมาเขมรได้ใช้อำนาจทางทหารปราบชาวกูย และผนวกอาณาจักรเข้าไป เป็นส่วนหนึ่งของเขมร ชาวกูยชอบการอพยพ เพื่อแสวงหาที่ดินอุดมสมบูรณ์ในการเพาะ ปลูก ชาวกูยอพยพขึ้นเหนือเข้าสู่เมืองอัตตะบือ แสนปาง จำปาศักดิ์และสารวัน ทางตอนใต้ของลาว อพยพข้ามลำน้ำโขง เข้าสู่ภาคอีสานทางด้านแก่งสะพือ อำเภอโขงเจียม

หลังจากนั้นลูกหลานชาวกูยแยกย้ายกันไปตั้งบ้านเรือน ชาวกูยอพยพเข้าประเทศไทยครั้งใหญ่ในสมัยปลายอยุธยา (พ.ศ.๒๒๔๕-๒๓๒๖) ชาวกูยที่อพยพมา มีหัวหน้าของตัวเอง  ปัจจุบันพบชาวกูยในจังหวัดบุรีรัมย์ อุบลราชธานี นครราชสีมา มหาสารคาม สุรินทร์ ศรีสะเกษ และสุพรรณบุรี)

  1. อาชีพ/การทำมาหากิน

การเลี้ยงช้าง   ซึ่งสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ชาวกูยจะออกไปจับช้างในป่าด้วยการคล้องช้าง เรียกว่า “โพนช้าง” เป็นการจับช้างโดย หมอช้าง ใช้บ่วงมาศที่เรียกว่า “เชือกปะกำ” ทำจากหนังควายถือเป็นของศักดิ์สิทธิ์เป็นที่สิงสถิตของดวง วิญญาณ บรรพบุรุษ ครูบาอาจารย์คล้องเท้า ช้างแล้วผูกกับ ต้นไม้ และนำมาฝึกใช้งาน ในการคล้องช้าง กระทำปีละครั้ง ราวเดือน ๑๑-๑๒ ช้างที่ตายลงจะมีการฝังอย่างดีและจะขุดกระดูกขึ้นมาทำ ทำบุญอุทิศส่วนกุศล ไปให้ (โสฬสและคณะ ๒๕๓๘, น.๑๔-๑๖)

  1. ภาษา

ภาษา ที่ใช้พูด เรียกว่า ภาษาผีปะกำ มาจากภาษาเขมรโบราณ ภาษาผีปะกำเป็นภาษาพิเศษที่สำคัญและศักดิ์สิทธิ์ยิ่ง ของชนชาวกูย ที่มีสมรรถนะสูง ในการติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกันในหมู่ หมอช้าง

  1. ที่อยู่อาศัย

บ้านของชาวกูยมีลักษณะใต้ถุนสูงด้านหน้าจะสูงเอาไว้เลี้ยงช้างใต้ถุนใช้เป็นที่วางหูกทอผ้าวาง กระด้ง ไหม และวัสดุเครื่องใช้สานด้วยหวายหรือไม้ไผ่ ชาวกูย บางบ้านจะแบ่งส่วนหนึ่งที่ติดตัวบ้านเป็นยุ้งข้าว บางบ้าน สร้างแยกต่างหาก(โสฬสและคณะ ๒๕๓๘, น.๒๑)

  1. ความเชื่อ ประเพณี และพิธีกรรมต่างๆ

ชาวกูยมีการนับถือผีและศาสนาพุทธผสมกัน ภายในชุมชนมีทั้งวัดและศาลผีประจำหมู่บ้าน ผีบรรพบุรุษเรียกว่า “ญะจัวะฮ” บนบ้านจะมีหิ้งบูชาผีบรรพบุรุษ เชื่อเรื่อง ภูตผีปีศาจเจ้าที่เจ้าทางเจ้าป่าเจ้าเขา รวมทั้งผีปอป และ เรื่องขวัญและเชื่อ ใน เทพเจ้าผีปะกำ เป็น เจ้าชีวิตของชนชาวกูย

            ประเพณี พิธีกรรม  

           การเซ่นผี กระทำปีละครั้ง เริ่มพิธีโดย ข้าวสุกเหล้า เนื้อสัตว์ กรวยใบตอง ผ้า สตางค์ หมากพลู เอา มาวางไว้ใต้ ้หิ้งบูชา ทำพิธีเซ่นโดยเอาน้ำตาลโรยบน ข้าวสุก จุดเทียนปักลงที่ข้าวแล้วกล่าวขอให้ผีบรรพบุรุษคุ้มครอง ขณะที่กล่าวค่อยๆ รินเหล้าลงขันแล้วหยิบของที่ ใช้ ้เซ่นวางบน หิ้งที่เหลือนำมา รับประทาน (โสฬสและ คณะ ๒๕๓๘, น.๑๑) การเซ่นผีอาจจัดขึ้นในวาระ อื่น ๆ เช่น เมื่อมีเด็กคลอด หรือ เมื่อมีแขกมาเยือนและ พักอาศัยอยู่ที่บ้าน

            การ รำผีมอ เพื่อดูแลรักษาผู้เจ็บป่วย   ผู้ที่จะรำผีมอต้องผ่านพิธีไหว้ครู ครอบครู (โสฬสและคณะ ๒๕๓๘, น.๑๓)

            พิธีไหว้พระแข  มีการสันนิษฐานกันว่าเป็นพิธีที่ได้จากเขมร พิธีนี้เป็นพิธีเสี่ยงทายเพื่อดูปริมาณน้ำฝนที่จะตกในเดือนต่าง ๆ ที่เป็นฤดูทำนาในปีต่อไป (โสฬสและ คณะ ๒๕๓๘, น.๑๙)

การแต่งกาย  ของชาวกูย หญิงสูงอายุจะนุ่งผ้าที่มีลายใส่เสื้อคอกระเช้า ใส่สร้อยคอลูกปัด เงิน นิยมใส่ดอกไม้หอมไว้ที่ ติ่งหู ชาวกูยนิยมทอผ้า เช่น ผ้าจิกกะน้อย เป็นผ้าที่มีลักษณะ คล้ายผ้าหางกระรอกมีสีเดียวเป็นผ้าสำหรับผู้ชายนุ่งในพิธีสำคัญ ๆลักษณะการนุ่งจะนุ่งพับจีบด้านหน้า เหมือนการนุ่ง โสร่ง ผ้านุ่งสตรีนิยมทอหมี่คั่นเป็นทางแนวดิ่งยืนพื้นสีน้ำตา ลอมมีหัวซิ่น พื้นสีแดงลายขิด ตีนซิ่นสีดำมีริ้วขาวเหลืองแดง ผ้าจะกวี เป็นผ้าคล้ายอันลูซีม ของเขมรมีลายทางยาวเป็น ผ้าที่สตรีใช้นุ่งใน งานสำคัญ ๆ (โสฬสและคณะ ๒๕๓๘, น.๑๗-๑๘)

  1. อาหาร

ชาวกูยรับประทานข้าวเจ้าเป็นอาหารหลัก จะรับประทานข้าว เหนียวเป็นบางครั้งอาหารประจำ ได้แก่ พริกตำ แกงกบ อาหาร อื่นๆ ได้แก่ เขียด กิ้งก่า เอามาสับ ย่างและตำพริก มดแดงเอามาคั่วใส่ ่พริก มะนาว น้ำปลา กะปิ เกลือเป็นต้น อาหารดิบที่บริโภค ได้แก่ กุ้งตัวเล็ก ปลาซิวตัวเล็ก เรียกว่า “กาผุห์”  นอกจากนั้นยังมี ละแวกกระดาม หรือ แกงขลุกขลิกปูนา  เบาะต๊อบ หรือตำมะเขือพวง ซึ่งเป็นอาหารสำหรับติดตัวไปบนหลังช้าง

ผู้หญิงกูยสูงอายุนิยมเคี้ยวหมากและพลู นอกจากนี้ยังเก็บลูกไม้ชนิดหนึ่งมาเคี้ยวกับหมากเรียกว่า “ปลัย การ” ชาวกูยยังมีการเลี้ยงหมู เป็ด ไก่ มีการล้มวัวควายบริโภค หรือในเวลามีงานพิธี เช่น เซ่นผีบรรพบุรุษ งานบวช เป็นต้น (โสฬสและคณะ ๒๕๓๘, น.๒๐-๒๑)

  1. นิทาน ตำนาน งานช่างฝีมือ ศิลปะการแสดง การละเล่นพื้นบ้าน

            ตำนานที่สำคัญ คือ เรื่องพระมอเฒ่า  ซึ่งถือว่าเป็นครูแห่งครูฝึกช้างทุกคน

            งานช่างฝีมือ การถักปัก และทอบนกี่ผ้าจริง

ดนตรี   การเป่า สเนงเกล

การละเล่น    สะบ้า   การเล่นเดินกะลา  วิ่งขาหย่าง  ยิงธนู  ตีลูกข่าง

 

  1. บทสรุปส่งท้าย

ชาวกูยผู้มีจิตวิญญาณที่แนบแน่นกับช้าง เป็นเอตะทัคคะทางด้านการรัก การเลี้ยง และการดูแลช้าง หรืออาจกล่าวได้ว่า มีองค์ความรู้เกี่ยวกับเลี้ยงดูช้าง ทั้งกาย ใจ และจิตวิญญาณ ซึ่งถือเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาวกูยที่โดดเด่น   ภูมิปัญญา และภูมิธรรมในการเลี้ยงดูช้างนี้ ชาวกูย ได้สืบสานจากบรรพชน จนถึงลูกหลาน  ถึงแม้ว่าในปัจจุบันผู้ดูแลช้างมิใช่ ชาวกูย ก็ยังต้องใช้ ภาษา ผีปะกำกูย ในการดูแลช้างเช่นกัน  ประจักษ์พยาน ในองค์ความรู้นี้ จะเห็นได้จากตำนาน พระมอเฒ่า  ซึ่งถือว่าเป็นครูแห่งครูฝึกช้างทุกคน  มรดกภูมิปัญญาด้านวัฒนธรรม ของชาวกูยนี้ ได้มีการ บันทึกไว้ โดยสถาบันการศึกษาหลายแห่ง แต่แหล่งที่สำคัญคือ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

ที่มา  ๑  http://www๒.sac.or.th/archives/๒๕๕๒/ethnic/

๒ เอกสาร จากคณาจารย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ จัดส่งให้ สำนักงานคณะกรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ   วันที่๕ เมษายน ๒๕๕๓ เพื่อใช้ในการจัดงาน มหกรรมนานาชาติ: ธ ทรงปกเกล้าฯ จากขุนเขาจรดทะเล ระหว่างวันที่ ๑-๕ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร