ชอง
- ชื่อชนเผ่า ชอง(CHONG) คำว่า “ชอง” แปลว่า เดินอย่างระแวดระวัง หรือแปลว่า พวกเรา
- ประวัติความเป็นมา ไม่ปรากฏประวัติความเป็นมา
- อาชีพ/การทำมาหากิน
ชาวชองอาศัยอยู่ในป่าดำรงชีวิต ด้วยการทำนา นอกจากนั้นยังมีการเก็บของป่านำ ไปขายในเมือง ได้แก่ น้ำมัน ยางชัน สมุนไพร หวาย และหนังสัตว์ นำมาแลกกับสิ่งของเครื่องใช้ เช่น เกลือ ยาฉุน หอม กระเทียม นอกจากนั้น ก็มีอาชีพ ล่องแพ หาของป่า และการตีผึ้ง เป็นต้น
ภาษา ภาษา ชอง เป็นภาษาในกลุ่มออสโตรเอเชียติก ไม่มีภาษาเขียน
- ที่อยู่อาศัย
บ้านเรือนของชาวชอง สร้างจากไม้ไผ่ ชาวชองมักอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ๆ กลุ่มละ ประมาณ ๒๐-๓๐ ครอบครัว การสร้างบ้านจะช่วยกัน ปลูกบ้าน ลักษณะบ้าน จะเป็นเรือนยกพื้นสูงประมาณ ๑.๕-๒.๐ เมตรมีบันได ๓-๕ ขั้น
- ความเชื่อ ประเพณี และพิธีกรรมต่างๆ
“พิธีทำบุญส่งทุ่งด้วยความเชื่อที่ว่า การที่มนุษย์เกิดมาในโลกนี้ และมีอาการเจ็บไข้ได้ป่วย หรือมีอันเป็นไปต่างๆ นาๆ นั้นเป็นเพราะมียมฑูตจากยมโลกมาลงโทษมนุษย์ชีวิตความเป็นอยู่ใน แต่ละวัน ของมนุษย์จะมีเหล่ายมฑูตคอยสอดส่องดูแลอย่างใกล้ชิด ชะตาชีวิตล้วนขึ้นอยู่กับเหล่ายมฑูต ในรอบหนึ่งปีคณะของยมฑูตจะต้องเดินทางกลับยมโลกเพื่อรายงานบันทึก และผลัด เปลี่ยนให้ยมฑูตชุดใหม่ขึ้นมาทำหน้าที่ในโลกมนุษย์ต่อไปชาวชองทุกคนจะต้องทำบัญชีรายชื่อทรัพย์สินสิ่งมีชีวิตทั้งที่ตายแล้วและยังมีชีวิตอยู่มอบให้แก่คณะยมฑูตนำกลับไปด้วย เพื่อขอความคุ้มครองให้อยู่ดีมีสุขในปีต่อไปพร้อมทั้งมีการเสียภาษีเป็นเสบียงอาหารให้แก่เหล่าคณะยมฑูตที่เดินทางกลับยมโลกด้วย หลังฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าวทุกๆ ปีลูกหลาน ชาวชองในจังหวัดจันทบุรี ระยองและตราดจะมีประเพณีสำคัญที่กระทำกันสืบเนื่องกันมานั่นคือพิธีทำบุญส่งทุ่งหากแต่ละท้องถิ่น ต่างก็มี เรื่องเล่าและรายละเอียดของ การประกอบ พิธีนี้แตกต่างกันไป พระสี เตชพโล กล่าวว่า “พิธีทำบุญส่งทุ่งคือ พิธีทำบุญส่งเสบียงอาหารให้แก่เหล่ายมฑูตที่ข้างทุ่งข้างทาง เพื่อให้ท่านเดินทาง ไปยมโลกอย่างมี ความ สุข ผู้คน ในโลกมนุษย์ก็จะได้มีความสุขด้วย”วันประกอบพิธีนั้นจะไม่กำหนดตายตัวในแต่ละปีแต่ละชุมชนจะนัดหมายกันเองโดยถือเอาวันพระหลังการเก็บเกี่ยวข้าวเป็นเกณฑ์ในคืนก่อนวัน พิธีทำบุญส่งทุ่ง “คานะพูน่ายคามูน” หรือคณะข้าหลวงอันประกอบด้วยคณะยมฑูตและเหล่าบริวารจะเดินไปบอกให้ทุกคนได้รู้ว่ายมฑูตจะกลับยมโลกแล้ว ใครมีเคราะห์กรรม อันใดให้บอกมาจะได้นำเคราะห์กรรมนั้นกลับไปโดยการนำไข่ไก่มาลูบไล้ตามร่างกายแขนขาเพื่อเรียกสิ่งชั่วร้ายให้ออกไปจากร่างกายยมฑูตก็จะขอให้แต่ละบ้านช่วยกันบริจาค เสบีย งอาหารเพื่อใช้ในการเดินทางในครั้งนี้ด้วย ชาวบ้านก็จะนำพวกผักสด ปลา พริก เกลือ ข้าวสาร หมู เป็ด ไก่ ตามที่ตนอยู่บริจาคให้กับคณะของยมฑูตนี้ เหล่าบริวารของยมฑูต ก็จะหาบสิ่งของที่ได้รับบริจาคมานั้นนำไปยังบริเวณที่จะประกอบพิธีทำบุญซึ่งได้ตกลง กำหนดพื้นที่ในการประกอบพิธีกันไว้ล่วงหน้า ส่วนใหญ่จะเป็นบริเวณที่อยู่นอกหมู่บ้าน จากนั้นจะช่วยกันหุงหาอาหารและนอนพักค้างคืนกันที่นั่นสิ่งของที่ได้มานั้นห้ามนำไปใช้ในการอื่นและห้ามคณะของยมฑูตและเหล่าบริวารกลับไปนอนที่บ้านด้วยจนกว่า จะเสร็จพิธี เช้าวันรุ่งขึ้นชาวบ้านก็พร้อมใจกันนำเอาอาหารคาวหวานและสิ่งที่ขาดไม่ได้ในพิธีนี้นั่นคือข้าวหลามที่แต่ละบ้านแต่ละครอบครัวจะต้องเผาเองนำมาร่วมในพิธีนี้โดย นิมนต์ให้พระ สงฆ์ประกอบพิธีทางพุทธศาสนา เสร็จสิ้นพิธีสงฆ์แล้วก็จะรับประทานอาหารร่วมกันหลังจากนั้นทุกคนก็ร่วมใจกันทำพิธีส่งยมฑูต ในการประกอบพิธีคณะข้า หลวงจะนำ ใบไม้มา ทำเกวียนจำลองเป็นพาหนะในการเดินทางชาวบ้านจะนำอาหารที่ได้แบ่งไว้มามอบให้และนำรายชื่อสรรพสิ่งของแต่ละบ้านมามอบให้พร้อมทั้งกล่าวว่าขอให้ท่านยมฑูตนำความ ทุกข์ความยากทั้งหลายกลับไปด้วยขอให้ทุกคนมีแต่ความสุขความเจริญ หลังจากนั้นจึงมารับพรจากพระสงฆ์กรวดน้ำแผ่เมตตา เมื่อเสร็จสิ้นพิธีกรรม แล้วอาจมีมหรสพ เช่น การเล่นละครชาตรี หรือมีการแข่งขันกีฬา สันทนาการต่างๆ เป็นการเฉลิม ฉลองประเพณีพิธีกรรมนี้ นอกจากนั้นยังมีประเพณีการเล่นผีหิ้ง และประเพณีการเล่นผีโรง
- อาหารและยา
กินข้าว เจ้า น้ำพริกผัก และปลา และมีความรู้ด้านยาสั่ง
- งานช่างฝีมือ ศิลปะการแสดง การละเล่นพื้นบ้าน
การแสดง กลองยาว และระบำยันแย่
- บทสรุปส่งท้าย
ชาวชอง เป็นผู้มีองค์ความรู้ หรือมีมรดกภูมิปัญญาด้านวัฒนธรรมที่โดดเด่น สองประการ คือ การทำยาสั่ง และการตีผึ้ง ซึ่งยากที่ชุมชนอื่นจะทำได้ ความเก่งของการทำยาสั่งของชาวชอง นั้น พ่อผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม เคยเล่าว่า ชองนั้นสั่งยาสั่งเก่งมาก แต่ชาว พนมสารคามก็สามารถใช้ต้นไม้ประเภทหนึ่งแก้ยาสั่งของ ชองได้ จนเรียกต้นไม้นั้น ว่าชองระอา ( ผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม เล่าให้ คณะข้าราชการ สำนักงานคณะกรรมการแห่งชาติ ฟังเมื่อ พศ. ๒๕๓๘ )
ที่มา ๑ http://www๒.sac.or.th/archives/๒๕๕๒/ethnic/