แสก

“แสก” เป็นชนเผ่าหนึ่งในจำนวนหลาย ๆ ชนเผ่าที่มีอยู่ในประเทศไทย เดิมชาวแสกมีภูมิลำเนาอยู่ที่เมืองรอง ขึ้นกับเมืองเว้อยู่ทางตอนกลางของประเทศเวียดนาม และประเทศจีนชนเผ่าแสกเป็นชนเผ่าที่มีความอุตสาหะบากบั่น ยึดมั่นในความสามัคคี เมื่อเห็นว่าภูมิลำเนาเดิมไม่-เหมาะสม จึงได้รวบรวมสมัครพรรคพวกอพยพหาที่อยู่ใหม่โดยอพยพลงมาตามแม่น้ำโขง แล้วมาตั้งถิ่นฐานชั่วคราวอยู่ระหว่างประเทศเวียดนามกับประเทศลาว โดยมี “ท้าวกายซู”และ “ท้าวกายซา” เป็นหัวหน้าในการอพยพ

ต่อมาในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง  แห่งกรุงศรีอยุธยากษัตริย์ของไทย ชาวแสกจึงได้พากันอพยพข้ามแม่น้ำโขงมาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่   “ป่าหายโศก” การอพยพของชาวแสกแต่ละครั้งนั้นไม่ได้ถูกบังคับหรือถูกข่มเหงแต่อย่างใด เมื่อชาวแสกเห็นว่าบริเวณ “ป่าหายโศก”เป็นพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรต่าง ๆ จึงได้อพยพพากันมาประกอบอาชีพอยู่แห่งนี้เรื่อยมา จนถึงสมัยพระสุนทรเป็นเจ้าเมือง  ได้พิจารณาเห็นว่า  ชาวแสกมีความสามารถ  มีความเข็มแข็ง  สามารถปกครองตนเองได้  จึงยกฐานะของชาวแสกขึ้นเป็นเมือง  โดยเปลี่ยนชื่อใหม่จาก  “ป่าหายโศก” เป็นเมือง “อาจมสามารถ” หรือ “บ้านอาจสามารถ”จนทุกวันนี้                เมื่อได้ยกฐานะเป็นเมืองแล้ว  ชาวแสกได้พากันโยกย้ายที่อยู่  ไปทำมาหากินในถิ่นต่าง ๆ เช่น  บ้านไผ่ล้อม  (ตำบลอาจสามารถ)  บ้านดงสมอ  บ้านบะหว้า  (อำเภอนาหว้า)  ในพื้นที่ของอำเภอศรีสงคราม  จังหวัดนครพนม  และที่บ้านโพธิ์คำ(ประเทศลาว)  ชาวแสกเหล่านี้ล้านมีเชื้อสาย  และเป็นญาติพี่น้องกับชาวแสกที่บ้านอาจสามารถทั้งสิ้น

จากคำบอกเล่าของชาวแสก  ทราบว่า  ปัจจุบันยังมีเผ่าแสกอยู่ที่แคว้นสิบสองปันนา  ประเทศจีนและที่สมุทรปราการ  เมื่อครั้งชาวแสกอพยพมาใหม่ ๆ มีอาชีพต่าง ๆ กัน  คือ  ทำนา  ประมง  ทำปูนขาว  ร่อนทองคำ  เดิมสถานที่ที่ตั้งบ้านอาจสามารถเป็นแหล่งแร่  ปัจจุบันหาแหล่งแร่ยาก  อาชีพร่อนทองคำจึงยกเลิกไปประเพณีวัฒนธรรมแสกเต้นแสก  การแสดงแสกเต้นแสก  ชาวแสกจะไม่แสดงบ่อยนัก  ตามประเพณีชาวแสก  จะแสดง  การแสดงเต้นแสกจัดขึ้นใน วันขึ้น  ๒  ค่ำ  เดือน  ๓  ซึ่งตรงกับประเพณี  “กินเตรท” หรือ “วันตรุษญวน”ในวันนี้ ชาวแสกทั้งหมดจากันนำดอกไม้ ธูป เทียน ข้าวปลาอาหาร ไปพร้อมกันที่ศาลเจ่าที่ชาวแสก เรียกว่า “ศาลองมู่”ซึ่ง “องมู่”  นี้  เป็นบรรพบุรุษที่ชาวแสกเคารพนับถือมาก  จะทำกิจการใดก็มักจะไปบนบานศาลกล่าวเสมอ  และว่ากันว่าศักดิ์สิทธิ์มาก  เมื่อชาวแสก  นำข้าวปลาอาหารทยอยกันไปที่“ศาลองมู่”ศาลนี้จะตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกติดริมฝั่งแม่น้ำโขง ลักษณะเหมือนศาลพระภูมิทั่วไป มีไฟประดับให้สวยงามในวันงาน รอบ ๆ ศาลจะมีไม้ทำเป็นดาบทาสีอยู่รอบศาล สันนิษฐานว่าแสดงถึงความสามารถในด้านการต่อสู้ ซึ่งสามารถนำประชาชนพรรคพวกตนมาหาชัยภูมิอันเหมาะสมได้

ที่มา http://www.oknation.net/blog/ADISAKTOTO/๒๐๐๙/๐๔/๒๗/entry-๑