การแก้ไขปัญหาโลกร้อนในระดับสากล
ในช่วงทศวรรษที่ 1980 นักวิทยาศาสตร์ต่างเริ่มกังวลว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์สู่ชั้นบรรยากาศ จะส่งผลให้สภาวะเรือนกระจกทวีความรุนแรงขึ้น คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ Intergovernmental Panel on Climate Change เรียกโดยย่อว่า IPCC ได้ถูกจัดตั้งขึ้นในปีพ.ศ. 2531 ประกอบด้วยสมาชิกจากรัฐบาลประเทศต่างๆ ที่เป็นสมาชิกของ องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก WMO และ องค์การสิ่งแวดล้อมโลก UNEP สำหรับประเทศไทยมี สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานกิจกรรมของ คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ
หน้าที่ของ คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ มีดังนี้
- บ่งชี้ถึงความไม่ชัดเจนและการขาดองค์ความรู้ในปัจจุบันด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ และผลกระทบที่เป็นไปได้ พร้อมทั้งเตรียมแผนปฏิบัติการในระยะสั้น
- บ่งชี้ข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ในการกำหนดนโยบายด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและกลยุทธ์ในการรับมือ (response strategy)
- ทบทวนนโยบายในปัจจุบัน และแผนการด้านก๊าซเรือนกระจกในระดับสากลและระดับชาติ
- ประมวลความรู้ในเชิงวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวกับก๊าซเรือนกระจกในทุกบริบท
- ถ่ายทอดความรู้ที่เกิดขึ้นไปยังรัฐบาล และองค์กรระหว่างรัฐบาล เพื่อนำไปพิจารณาประกอบนโยบายด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
- นำข้อมูลและองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นใหม่มาใช้ในการวางแผนการพัฒนาสังคมมนุษย์
- ขอร้องให้ประเทศต่าง ๆ ในโลกมองล่วงหน้า ถึงปัญหาและป้องกันการเปลี่ยนแปลงที่มีความเป็นไปได้ว่าเกิดจากการกระทำของมนุษย์ ซึ่งจะส่งผลเสียหายต่อสวัสดิ์ภาพของมนุษย์
การทำงานของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ IPCC นั้น ได้แบ่งเป็นกลุ่มทำงานรับผิดชอบงานดังนี้
กลุ่มที่ 1 หรือ Working Group 1 รับผิดชอบด้านภูมิอากาศเชิงวิทยาศาสตร์ (Science of Climate)
กลุ่มที่ 2 หรือ Working Group 2 รับผิดชอบด้านผลกระทบและการปรับตัวและความอ่อนไหว (Impact Adaptation and Vulnerability)
กลุ่มที่ 3 หรือ Working Group 3 รับผิดชอบด้านการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Mitigation)
กลุ่มที่ 4 ทำงานด้านการประเมินการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Task Force Group on Greenhouse Gas Inventory