CDM
ภายใต้พิธีสารเกียวโต กลุ่มประเทศ ภาคผนวกที่ 1 (Annex 1) มีพันธกรณีที่จะต้องทำการลดก๊าซเรือนกระจกจำนวน 6 ชนิด คือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซมีเทน ก๊าซไนตรัสออกไซด์ ก๊าซไฮโดรเจนฟลูออโรคาร์บอน ก๊าซเปอร์ฟลูออโรคาร์บอน และก๊าซซัลเฟอร์- เฮกซาฟลูออไรด์ให้ต่ำกว่าร้อยละ 5 จากระดับที่ปล่อยโดยรวมของกลุ่มเมื่อปี พ. ศ.2533 ภายในปี พ. ศ.2551-2555 โดยนำกลไกต่างๆในการลดก๊าซเรือนกระจกมาใช้ ได้แก่(1) กลไกการดำเนินการร่วม(Joint Implementation, JI)(2) กลไกการซื้อขายปริมาณการปล่อยก๊าซ(Emission Trading, ET)
(3) กลไกการพัฒนาที่สะอาด(Clean Development Mechanism, CDM) โดยสองกลไกแรกนั้นจำกัดให้เฉพาะกลุ่มประเทศภาคผนวกที่ 1 หรือ Annex 1 ดำเนินการเท่านั้น ส่วนกลไกที่สามเป็นกลไกที่เอื้ออำนวยให้เกิดการดำเนินการระหว่างกลุ่มประเทศในภาคผนวกที่ 1 Annex 1 และกลุ่มประเทศ นอกภาคผนวกที่ 1 Non-Annex 1 เพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศกำลังพัฒนาด้วยการถ่ายทอด เทคโนโลยีที่สะอาด การเรียนรู้ด้านวิชาการ การเรียนรู้ด้านการวิจัยและพัฒนา ตลอดจนการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารเพื่อดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิ อากาศภายใต้กลไกการพัฒนาที่สะอาด ประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศกำลังพัฒนา หรือกลุ่มนอกภาคผนวกที่ 1 (non-Annex I Countries) ไม่ได้ถูกจำกัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายใต้พิธีสารเกียวโตภายในระยะเวลาและ ปริมาณที่กำหนดไว้ แต่สามารถร่วมดำเนินโครงการในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้โดยสมัครใจตาม แต่ศักยภาพของประเทศ โครงการภายใต้กลไกการพัฒนาที่สะอาด ที่สามารถลดการเกิดก๊าซเรือนกระจกที่มีศักยภาพ เพียงพอนั้นสามารถสรุปได้ 2 วิธีหลัก คือ (1) การหลีกเลี่ยงการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น การปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานและการปรับเปลี่ยนใช้เชื้อเพลิงที่ สะอาด เป็นต้น (2) การดูดซับก๊าซเรือนกระจกที่มีอยู่ในบรรยากาศ เช่น การปลูกป่า และการเพิ่มความสามารถในการดูดซับก๊าซเรือนกระจกของดิน เป็นต้น หลักเกณฑ์โครงการที่สามารถดำเนินการภายใต้ CDM นั้นต้องทำให้ก๊าซเรือนกระจกลดลงอย่างเป็นรูปธรรมและสามารถวัดได้ ช่วยให้บรรลุถึงการพัฒนาอย่างยั่งยืนในประเทศเจ้าบ้าน และจะต้องเป็นโครงการที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกนอกเหนือไปจากที่มีการลด อยู่แล้วในโครงการอื่นๆ ซึ่งการดำเนินโครงการภายใต้ CDM จะต้องมีการจัดระบบที่สามารถวัดปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาในช่วง เวลาฐานหรือเวลาอ้างอิง(baseline scenario) แล้วนำมาเปรียบเทียบกับปริมาณการปล่อยหลังจากมีโครงการ CDM ทั้งนี้ผู้ที่จะกำหนดตัวแปรต่างๆในระยะเวลาอ้างอิงคือ นักลงทุนและเจ้าของโครงการ CDM โดยใช้ระเบียบวิธีการวัดที่ได้ผ่านการเห็นชอบของคณะกรรมการบริหาร CDM |
วงจรกิจกรรมโครงการ CDM ประกอบด้วยขั้นตอนหลักๆ 5 ขั้นตอน คือ(1)การออกแบบโครงการ (2)การยืนยันและการขึ้นทะเบียน (3)การติดตามตรวจสอบ (4)การตรวจสอบความถูกต้องและการให้การรับรอง และ (5)การออกใบรับรอง |
ประเทศไทย โดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) : อบก. ในฐานะ หน่วยงานกลางประสานการดำเนินงานตามกลไกการพัฒนาที่สะอาด (Designated National Authority: DNA )ของประเทศไทย ทำหน้าที่ในการพิจารณาให้คำรับรองโครงการ CDM ได้กำหนดหลักเกณฑ์การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Criteria : SD-Criteria) เพื่อใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการพิจารณาให้คำรับรองโครงการตามกลไกการพัฒนาที่สะอาด โดยโครงการที่จะได้รับการรับรองว่าเป็นโครงการตามกลไกการพัฒนาที่สะอาดนั้น จะต้องผ่านหลักเกณฑ์การพัฒนาที่ยั่งยืนที่ อบก.กำหนดขึ้น
โครงการที่คณะกรรมการพิจารณาให้คำรับรอง ตามระเบียบคณะกรรมการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกว่าด้วย หลักเกณฑ์การพิจารณาให้คำรับรองว่าเป็นโครงการตามกลไกการพัฒนาที่สะอาด พ.ศ. 2553 ได้แก่ โครงการ
1. ด้านพลังงาน | 1.1 การผลิตพลังงาน
1.2 การปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน
|
2. ด้านสิ่งแวดล้อม | เช่น โครงการแปลงขยะเป็นพลังงาน โครงการแปลงน้ำเสียเป็นพลังงาน เป็นต้น |
3. ด้านคนนาคมขนส่ง | เช่น โครงการเพิ่มประสิทธิภาพในการคมนาคมขนส่ง และการใช้พลังงาน เป็นต้น |
4. ด้านอุตสาหกรรม | เช่น โครงการที่สามารถลดปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกใน กระบวนการอุตสาหกรรม เป็นต้น |
ล่าสุดมีโครงการที่ได้รับหนังสือให้คำรับรองโครงการ (Letter of Approval: LoA) จากประเทศไทยแล้ว จำนวน 138 โครงการ คิดเป็นปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้ 8,542,370 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี ส่วน ใหญ่เป็นโครงการผลิตพลังงานจากก๊าซชีวภาพจากน้ำเสียของโรงงานอุตสาหกรรม และโครงการผลิตพลังงานจากชีวมวล ซึ่งภาคเกษตรมีส่วนในการดำเนินการเรื่องการจัดการมูลสัตว์ และใช้แกลบผลิตเป็นพลังงาน เป็นต้น