EIA (Environmental Impact assessment)
การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
หมายถึงการวิเคราะห์ผลกระทบจากโครงการหรือกิจการประเภทต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นต่อสภาพแวดล้อม ที่อาจมีผลกระทบต่อโครงการทั้งในทางบวกและทางลบ เพื่อเตรียมการป้องกันและแก้ไขก่อนการตัดสินใจดำเนินโครงการหรือกิจการนั้นๆ
พรบ.สิ่งแวดล้อม 2535 กำหนดให้โครงการหรือกิจการตามประเภทและขนาด ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ควบคู่กับการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ (Feasibility study) และการออกแบบรายละเอียดเพื่อก่อสร้าง เพื่อให้ทราบถึงผลกระทบที่แท้จริง โครงการที่แม้จะมีผลกำไรหรือความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์ค่อนข้างสูงแต่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมาก อาจทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น จนทำให้ไม่คุ้มทุน
พรบ. สิ่งแวดล้อม 2535 พ.ศ. 2545 มาตรา 96 กำหนดว่า “ผู้ก่อมลพิษเป็นผู้รับผิดชอบ” หรือที่เรียกว่า “Pollution Pays Principle” โครงการหรือกิจการใดที่ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมจะต้องเป็นผู้จ่ายหรือชดใช้ค่าเสียหายทั้งหมด ซึ่งอาจมีมูลค่าที่สูงมากจนโครงการไม่สามารถทนค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นต่อไปได้
ประเภทและขนาดของโครงการที่ต้องทำการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
- เขื่อนเก็บกักน้ำหรืออ่างเก็บน้ำ ตั้งแต่ 100,000,000 ลบ.ม.ขึ้นไป หรือมีพื้นที่เก็บกักน้ำตั้งแต่ 15 ตารางกิโลเมตรขึ้นไป
- การชลประทาน ตั้งแต่ 80,000 ไร่ขึ้นไป
- สนามบินพาณิชย์ ทุกขนาด
- โรงแรมหรือที่พักตากอากาศที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำ ฝั่งทะเล ทะเลสาบ หรือชายหาดหรืออยู่ใกล้หรือในอุทยานแห่งชาติ 80 ห้องขึ้นไป
- ระบบทางพิเศษ ทุกขนาด
- การทำเหมืองแร่ ทุกขนาด
- นิคมอุตสาหกรรม ทุกขนาด
- ท่าเรือพาณิชย์ ขนาดตั้งแต่ 500 ตันกรอสขึ้นไป
- โรงไฟฟ้าพลังความร้อน ตั้งแต่ 10 เมกกะวัตต์ขึ้นไป
- การอุตสาหกรรม เปโตรเคมีคัล 100 ตันต่อวันขึ้นไป
- โรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม ทุกขนาด
- โรงแยกแก๊ส ทุกขนาด
- อุตสาหกรรมคลอ-อัลคาไลน์ที่ใช้ NaCl เป็นวัตถุดิบในการผลิต Na2CO3, NaOH, HCl, Cl2, NaOCl และปูนคลอรีน 100 ตันต่อวันขึ้นไป
- อุตสาหกรรมเหล็กหรือเหล็กกล้า 100 ตันต่อวันขึ้นไป
- อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ทุกขนาด
- โรงถลุงหรือหลอมโลหะ 50 ตันขึ้นไป
- อุตสาหกรรมการผลิตเยื่อกระดาษ 50 ตันต่อวันขึ้นไป
- การจัดสรรที่ดิน เกินกว่า 100 ไร่หรือ 500 แปลง
- โรงพยาบาล ขนาด 60 เตียง ยกเว้นที่ตั้งริมแม่น้า ฝั่งทะเล ทะเลสาบ ชายหาด ขนาด 30 เตียง
- การถมที่ดินในทะเล ทุกขนาด
ขั้นตอนการดำเนินงาน
- กลั่นกรองโครงการว่ามีผลต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับใด
- กำหนดขอบเขตที่เกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผู้ที่ได้รับผลกระทบ หน่วยงานของรัฐและผู้ดำเนินโครงการ
- การจัดทำรายงาน ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม 4 ด้าน
3.1 ด้านทรัพยากรสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ
- บนบก ภูมิสัณฐาน ความลาดชันของพื้นที่ ภูมิประเทศบริเวณ โครงการและใกล้เคียง
- ดิน ประเภทดิน ชนิด คุณสมบัติ ทางกายภาพ เคมี ชีวภาพ ศักยภาพของดิน อาจใช้ข้อมูล ทุติยภูมิจากหน่วยงานของรัฐ หรือเก็บ ตัวอย่างดินไปวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ บางโครงการอาจต้องมีการขุดหรือถมบริเวณ ทำให้มี ปริมาณตะกอนดินไหลหรือตกตะกอนสู่ลำน้ำสาธารณะ ทำให้แหล่งน้ำตื้นเขินและมีผลต่อระบบนิเวศวิทยา
- ธรณีวิทยา เช่น การสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ ต้องมีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่เหนือเขื่อน ต้องศึกษาลักษณะทางธรณีวิทยาเพื่อไม่ให้น้ำที่เก็บกักไหลหรือรั่วซึมลงไปใต้ดิน ลักษณะหินต้องรองรับการสร้างเขื่อน ต้องศึกษาด้านการเกิดแผ่นดินไหวด้วย เพราะอาจก่อให้เกิดการพังทลาย โครงการชลประทานสร้างระบบส่งน้ำ จำเป็นต้องศึกษาข้อมูลให้ดี เพราะน้ำจากผิวดินอาจทำให้ความ เค็มของเกลือใต้ดินโผล่ขึ้นมา
- ทรัพยากรแร่ธาตุ ถ้ามีการสร้างโครงการ แร่ธาตุที่มีคุณค่าทั้งหลายก็ไม่สามารถ นำขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้ เช่นโครงการสร้างอ่างเก็บน้ำ เมื่อ เก็บน้ำแล้วก็ไม่สามารถนำแร่ธาตุมาใช้ได้
- น้ำ น้ำผิวดิน/น้ำใต้ดิน ต้องศึกษาแหล่งน้ำธรรมชาติโดยศึกษา ปริมาณและคุณภาพน้ำ บางโครงการต้องการน้ำมาก ก็อาจต้องมาแย่งน้ำจากประชาชนที่ใช้อยู่เดิม อาจเกิดผลกระทบจากการขาดแคลนน้ำ และแย่งชิงทรัพยากรน้ำ
- น้ำทะเล การใช้น้ำทะเลในการหล่อเย็น ทำให้อุณหภูมิ ของน้ำทะเลสูงขึ้น การถมทะเล ทำให้การหมุนเวียนของน้ำทะเลผิดไป
- อากาศ ต้องพิจารณาลักษณะภูมิอากาศ ปริมาณฝน จานวน วันที่ฝนตก อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ ความเร็วและ ทิศทางลม ปริมาณฝุ่นละออง
- เสียง ช่วงก่อสร้าง เสียงจะรบกวนแต่บางโครงการจะมีเสียง รบกวนตลอดเวลา เช่นโครงการระบบทางด่วน สนามบิน
3.2 ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ
- ทรัพยากรนิเวศวิทยาทางบก เน้นระบบนิเวศวิทยา ชนิดและปริมาณและการแพร่กระจายของพืชและสัตว์บริเวณที่ศึกษา
- ทรัพยากรนิเวศวิทยาทางน้ำ เน้นชนิดและความสมบูรณ์ของพืชน้ำ สัตว์น้ำ plankton, benthos
3.3 คุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์
- การใช้น้ำ แหล่งที่มาของน้ำ คุณภาพของน้ำ ปริมาณการใช้น้ำ เพราะอาจเกิดปัญหาการแย่งน้ำ
- การคมนาคม สภาพผิวการจราจร ความหนาแน่น จำนวนและขนาดของรถที่จะต้องวิ่งเข้าออกโครงการ
- การใช้ที่ดิน การวิเคราะห์จะต้องพิจารณาความเหมาะสมของ สถานที่ตั้งโครงการ เช่นอยู่ในเขตอนุรักษ์ต้นน้ำ หรือไม่ เขตผังเมือง
- พลังงานไฟฟ้า การจัดสร้างโครงการ ย่อมมีการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นจึง ต้องเตรียมความพร้อม
- การควบคุมน้ำท่วมและการระบายน้ำ โครงการต่างๆจะมีระบบป้องกันน้ำท่วมแต่ที่ดินของ ประชาชนไม่มี เมื่อมีการระบายน้ำจากโครงการสู่ ธรรมชาติ อาจก่อให้เกิดปัญหาน้ำท่วม เช่น สนามบินพาณิชย์หนองงูเห่าซึ่งมีการออกแบบระบบป้องกัน น้ำท่วม แต่จากสภาพทั่วไปของบริเวณใกล้เคียง จะมีน้ำท่วมขังทุกปีในช่วงฤดูฝนจึงเป็นการเพิ่มปริมาณน้ำในบริเวณโดยรอบ
3.4 คุณค่าต่อคุณภาพชีวิต
- สภาพเศรษฐกิจและสังคม โดยการสอบถาม สัมภาษณ์ รายได้ ต่อคนต่อเดือนหรือต่อปี สภาพประเพณี วัฒนธรรม โดยเปรียบเทียบระหว่างไม่มี โครงการและมีโครงการ ถ้ามีโครงการแล้วทำให้สภาพความเป็นอยู่เปลี่ยนแปลงไปในทางลบจะต้องมีมาตรการลดผลกระทบหรือมีมาตรการชดเชย
- การสาธารณสุข ต้องศึกษาว่ามีสถานภาพด้านการรักษา พยาบาลเพียงพอหรือไม่
- อาชีวอนามัย ศึกษาในเรื่องโรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพ การเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน อัตราการตายและสาเหตุ
- ประวัติศาสตร์ ศึกษาสถานภาพของโบราณสถาน โบราณวัตถุ เช่น เมื่อมีการสร้างเขื่อน ข้อมูล ต่างๆ ด้านประวัติศาสตร์ไม่ได้มีการนำมาพิจารณา ประวัติศาสตร์ที่สำคัญรวมทั้งอุปกรณ์และ เครื่องมือเครื่องใช้ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ได้จมอยู่ ใต้น้ำ การศึกษาด้านประวัติศาสตร์ก็ต้องหยุด ไปโดยสิ้นเชิง
- ขนบธรรมเนียมประเพณี การย้ายถิ่นของประชาชนบริเวณอ่างเก็บน้ำทำให้ อาชีพและความเป็นอยู่ของคนกลุ่มนี้เปลี่ยนไป ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมที่เคย ปฏิบัติก็จะถูกละเลยหรือลืมไปในที่สุด
- ผลกระทบด้านเศรษฐกิจสังคม
- เกิดการสร้างงาน
- เกิดการสร้างสาธารณประโยชน์ เช่นระบบคมนาคมขนส่งดีขึ้น
- ผลกระทบต่อสิ่งอานวยความสะดวกด้านสิ่งบริการ
- ผลกระทบต่อระดับค่าครองชีพ
- ผลกระทบต่อรายได้
- ผลกระทบต่ออาชีพ
ประโยชน์ของ EIA
- ทำให้เจ้าของโครงการพัฒนาโครงการด้วยความรอบคอบมากยิ่งขึ้น
- เพื่อบรรเทา ลด และป้องกันผลกระทบที่เสียหาย
- ช่วยให้การใช้ทรัพยากรเกิดประโยชน์สุงสุด
- เพื่อให้ผู้ประกอบการเตรียมมาตรการลดผลกระทบ ติดตามตรวจสอบและลดผลกระทบ
- เพื่อช่วยในการพิจารณาทางเลือกของโครงการให้เหมาะสม
- เพื่อสนับสนุนให้มีการพิจารณาประเด็นทางสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับโครงการ
- เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน
- ช่วยในการตัดสินใจ
- ทำให้ ประชาชนมีความเข้าใจ ผลดี ผลเสียของโครงการ ลดการโต้แย้ง
- ช่วยให้คุณภาพชีวิตของผู้เกี่ยวข้องได้รับการคุ้มครอง ทำให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยที่อาจได้รับผลกระทบจากโครงการได้รับการพิจารณาชดเชย
ข้อจำกัดของ EIA
- มีค่าใช้จ่าย ในการทำประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
- ใช้เวลานาน เช่นโครงการเขื่อนแม่วงก์ นครสวรรค์ ขาดผู้เชี่ยวชาญ ทำบัญชีสัตว์ป่า
- การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเป็นการคาดคะเน
- การคาดคะเนอาจไม่มีผลสำหรับการดำเนินงานระยะยาวได้ เช่นโครงการพัฒนาแหล่งน้ำให้ผลตอบแทนด้านเศรษฐกิจ ประชาชนมีพื้นที่เกษตรมากขึ้นแต่ในความเป็นจริงอาจไม่ทำการเกษตรกรรมตามที่วิเคราะห์ไว้หรืออาจคาดการณ์ว่าจะเกิดโรคระบาดทางน้ำเพราะแหล่งน้ำเพิ่ม พาหะของโรคพยาธิใบไม้ในเลือด โรคมาเลเรียจะเพิ่มแต่การศึกษา ฐานะทางเศรษฐกิจ สุขอนามัยส่วนบุคคลและการเฝ้าระวังโรค การรณรงค์ให้ความรู้กับประชาชน ทำให้ไม่เกิดการเพิ่มของโรค
ผู้จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
1.สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาหรือสถาบันวิจัยซึ่งมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไทย
2.นิติบุคคลซึ่งจดทะเบียนตามกฎหมายไทย
3.นิติบุคคลซึ่งได้จดทะเบียนตามกฎหมายต่างประเทศ แต่ต้องมีนิติบุคคลตาม 1) หรือ 2) ซึ่งมีใบอนุญาตเป็นผู้มีสิทธิทำรายงาน เข้าร่วมในการทำรายงานด้วย
4.รัฐวิสาหกิจ ซึ่งมีกฎหมายเฉพาะแต่ในกิจการของรัฐวิสาหกิจนั้น
5.สภาการเหมืองแร่ตามกฎหมายว่าด้วยสภาการเหมืองแร่เฉพาะแต่ในกิจการของสมาชิก
นิติบุคคลที่ได้รับอนุญาตให้ทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมต้องมี บุคคลตามที่กำหนดตลอดเวลาที่ได้รับใบอนุญาต ดังนี้
1.ผู้ชำนาญการ สำเร็จการศึกษาอย่างต่ำระดับอุดมศึกษาหรือเทียบเท่าอย่างน้อย 1 คนในสาขาใดสาขาหนึ่ง ดังนี้
วิทยาศาสตร์สาขาสิ่งแวดล้อม นิเวศวิทยา หรือสุขาภิบาล
วิศวกรรมศาสตร์สาขาสิ่งแวดล้อมหรือสุขาภิบาล
เศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม
- เจ้าหน้าที่อย่างน้อย 3 รายสำเร็จการศึกษาอย่างต่ำในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ หรือสังคมศาสตร์
หน้าที่ผู้ชำนาญการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
- ต้องตรวจสอบวิธีวิเคราะห์
- มาตรการควบคุมและป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อม
- มาตรการติดตามตรวจสอบ
- สามารถอธิบายและชี้แจงต่อคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงาน