KPEMIC – เปิดตัวโครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูลฯ ชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย

IMG_6763เมื่อวันที่ 28-29 มีนาคม 2559  ณ โรงแรมเมอร์เคียว ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ มูลนิธิชนเผ่าพื้นเมืองเพื่อการศึกษาและสิ่งแวดล้อม โดยการสนับสนุนของ สหภาพยุโรป และ International Workgroup on Indigenous Affairs (IWGIA) ได้จัดเวทีเปิดตัวโครงการ “พัฒนาระบบฐานข้อมูลและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย” โดยมีหลักการและวัตถุประสงค์ ดังนี้

ชนเผ่าพื้นเมืองของประเทศไทย ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในพื้นที่ภูมิศาสตร์สามภาคของประเทศ ได้แก่ภาคใต้ ที่ ราบสูงโคราชของภาคอีสานและภาคตะวันออก และภาคเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือ ในแต่ละภาคจะมีประชากร ชนเผ่าพื้นเมืองกลุ่มต่างๆ อาศัยอยู่ เช่น มอแกน มอแกลน อูรักลาโว้ย และมานิ อาศัยอยู่ทางภาคใต้ ญัฮกรู แสก โส้ กูยและชอง อาศัยอยู่แถบที่ราบสูงโคราชของภาคอีสานและภาคตะวันออก กะเหรี่ยง ม้ง เมี่ยน ลีซู ลาหู่ อาข่า มลาบรี อึมปี บีซูไทด าอาศัยอยู่ทางภาคเหนือและภาคตะวันตกเฉียงเหนือ เป็นต้น ประชากรชนเผ่าพื้นเมืองหลาย กลุ่มอาศัยอยู่กระจายไปตามประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนหนึ่งเกิดจากการขีดเส้น พรมแดนของรัฐชาติสมัยใหม่ในช่วงยุคล่าอาณานิคม และในช่วงตื่นตัวของการปลดปล่อยจากอาณานิคม ท าให้ชน เผ่าพื้นเมืองหลายกลุ่มถูกแบ่งแยกและอยู่กระจายตามที่ต่างๆ จากการศึกษาและสอบถามผู้รู้เกี่ยวกับจ านวนประชากรและสถานการณ์ของชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศ ไทยปรากฏว่ายังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจน ยกเว้นข้อมูลชุมชนบนพื้นที่สูง 20 จังหวัดที่ส ารวจโดยกรมพัฒนาสังคมและ สวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในปี 2545 แต่การส ารวจครั้งนั้นยังไม่ครอบคลุม ประชากรของอีกหลายกลุ่ม เช่น อึมปี บีซู ญักรู ชอง มอแกน มอแกลน อูรักลาโว้ย มานิ ฯลฯ ซึ่งอาศัยอยู่ในภาค อื่นๆ ของประเทศไทย และหลังจากนั้นเป็นต้นมาก็ไม่มีการส ารวจและจัดท าข้อมูลเพิ่มเติมอีก ท าให้ขาดข้อมูลที่ ทันสมัยและไม่สามารถน าไปใช้ในการวางแผนและการพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะที่สถานการณ์ของชุมชน ชนเผ่าพื้นเมืองบางกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มที่เปราะบางเริ่มเผชิญภาวะวิกฤต เช่น การถูกแย่งชิงที่ดิน ถูกละเมิดสิทธิ ถูกจ ากัดสิทธิในการท ามาหากิน ถูกกลืนกลายทางวัฒนธรรม ฯลฯ จากการหารือกับผู้น าชนเผ่าพื้นเมือง มีความเห็น พ้องกันว่าการจัดท าระบบฐานข้อมูลและการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ชนเผ่าพื้นเมืองกลุ่มเล็กๆ เหล่านี้ถือเป็นสิ่ง ที่จ าเป็นและต้องกระท าอย่างเร่งด่วน เพื่อให้แนวคิดและความต้องการดังกล่าวบรรลุผลตามเป้าหมายที่วางไว้ ทางมูลนิธิชนเผ่าพื้นเมืองเพื่อ การศึกษาและสิ่งแวดล้อม (ม.ก.ส) มูลนิธิภูมิปัญญาชนเผ่าพื้นเมืองบนพื้นที่สูง (IKAP) ร่วมกับศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์ และการพัฒนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกองเลขาสภาชนเผ่า พื้นเมืองแห่งประเทศไทย จึงได้ร่วมมือกันพัฒนาระบบฐานข้อมูลชนเผ่าพื้นเมืองขึ้น เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลกลางที่ทุก ฝ่ายสามารถน าไปใช้ได้ โดยในระยะแรกจะเน้นกลุ่มเป้าหมายน าร่อง 10 กลุ่มชาติพันธุ์ที่มีประชากรไม่มากก่อน ได้แก่ อึมปี บีซู มลาบรี ญัฮกรู แสก ชอง มอแกน มอแกลน อูรักลาโว้ย และมานิเพื่อให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีความ เข้าใจตรงกันและเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนในขบวนชนเผ่าพื้นเมือง จึงได้จัดให้เวทีเปิดตัวโครงการนี้ขึ้น

วัตถุประสงค์
1) เพื่อทาความเข้าใจเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ ขอบเขตและกิจกรรมการดาเนินงานของโครงการ
2) เพื่อแลกเปลี่ยนและเรียนรู้เกี่ยวกับองค์ความรู้ ปัญหาและสถานการณ์ในพื้นที่ของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์
3) เพื่อพัฒนาและจัดทาแผนงานเชิงปฏิบัติร่วมกัน
4) เพื่อเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนและความเข้มแข็งให้กับขบวนชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1) ผู้เข้าร่วมมีความเข้าใจเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ ขอบเขตและกิจกรรมการดาเนินงานของโครงการอย่างชัดเจน
2) เกิดการแลกเปลี่ยนและเรียนรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ในพื้นที่ของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์
3) มีแผนการดาเนินงานร่วมกัน
4) เสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนของขบวนชนเผ่าพื้นเมือง