KPEMIC – โครงการพัฒนาฐานข้อมูลชนเผ่าพื้นเมืองในไทย

eu logoIWGIA logo 72 dpi_450Logo-IPF-endlish-greenIKAP logoNIPT Logologo-cusri logo_cesd

โครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย

1. ความเป็นมาIMG_6880

ชนเผ่าพื้นเมืองของประเทศไทย ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในพื้นที่ภูมิศาสตร์สามภาคของประเทศ ได้แก่ภาคใต้ ที่ราบสูงโคราชของภาคอีสานและภาคตะวันออก และภาคเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือ ในแต่ละภาคจะมีประชากรชนเผ่าพื้นเมืองกลุ่มต่างๆ อาศัยอยู่ เช่น มอแกน มอแกลน อูรักลาโว้ย และมานิ อาศัยอยู่ทางภาคใต้ ญัฮกรู แสก โส้ กูยและชอง อาศัยอยู่แถบที่ราบสูงโคราชของภาคอีสานและภาคตะวันออก กะเหรี่ยง ม้ง เมี่ยน ลีซู ลาหู่ อาข่า  มลาบรี อึมปี บีซู ไทดำอาศัยอยู่ทางภาคเหนือและภาคตะวันตกเฉียงเหนือ เป็นต้น ประชากรชนเผ่าพื้นเมืองหลายกลุ่มอาศัยอยู่กระจายไปตามประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนหนึ่งเกิดจากการขีดเส้นพรมแดนของรัฐชาติสมัยใหม่ในช่วงยุคล่าอาณานิคม และในช่วงตื่นตัวของการปลดปล่อยจากอาณานิคม ทำให้ชนเผ่าพื้นเมืองหลายกลุ่มถูกแบ่งแยกและอยู่กระจายตามที่ต่างๆ

จากการศึกษาและสอบถามผู้รู้เกี่ยวกับจำนวนประชากรและสถานการณ์ของชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทยปรากฏว่ายังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจน ยกเว้นข้อมูลชุมชนบนพื้นที่สูง 20 จังหวัดที่สำรวจโดยกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในปี 2545 แต่การสำรวจครั้งนั้นยังไม่ครอบคลุมประชากรของอีกหลายกลุ่ม เช่น อึมปี บีซู ญักรู ชอง มอแกน มอแกลน อูรักลาโว้ย มานิ ฯลฯ ซึ่งอาศัยอยู่ในภาคอื่นๆ ของประเทศไทย และหลังจากนั้นเป็นต้นมาก็ไม่มีการสำรวจและจัดทำข้อมูลเพิ่มเติมอีก ทำให้ขาดข้อมูลที่ทันสมัยและไม่สามารถนำไปใช้ในการวางแผนและการพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะที่สถานการณ์ของชุมชนชนเผ่าพื้นเมืองบางกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มที่เปราะบางเริ่มเผชิญภาวะวิกฤต เช่น การถูกแย่งชิงที่ดิน ถูกละเมิดสิทธิ ถูกจำกัดสิทธิในการทำมาหากิน ถูกกลืนกลายทางวัฒนธรรม ฯลฯ จากการหารือกับผู้นำชนเผ่าพื้นเมือง มีความเห็นพ้องกันว่าการจัดทำระบบฐานข้อมูลและการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ชนเผ่าพื้นเมืองกลุ่มเล็กๆ เหล่านี้ถือเป็นสิ่งที่จำเป็นและต้องกระทำอย่างเร่งด่วน

เพื่อให้แนวคิดและความต้องการดังกล่าวบรรลุผลตามเป้าหมายที่วางไว้ ทางมูลนิธิชนเผ่าพื้นเมืองเพื่อการศึกษาและสิ่งแวดล้อม (ม.ก.ส) และมูลนิธิภูมิปัญญาชนเผ่าพื้นเมืองบนพื้นที่สูง (IKAP) โดยความร่วมมือกับศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกองเลขาสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย จึงได้ร่วมมือกันพัฒนาระบบฐานข้อมูลชนเผ่าพื้นเมืองขึ้น เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลกลางที่ทุกฝ่ายสามารถนำไปใช้ได้ และนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน โดยในระยะแรกจะเน้นกลุ่มเป้าหมายนำร่อง 10 กลุ่มชาติพันธุ์ที่มีประชากรไม่มากก่อน ได้แก่ อึมปี บีซู มลาบรี ญัฮกรู แสก ชอง มอแกน มอแกลน อูรักลาโว้ย และมานิ

2. วัตถุประสงค์IMG_6840 - Copy

วัตถุประสงค์โดยรวมของโครงการนี้ คือ องค์กรชุมชนและสมาชิกชุมชน รวมทั้งครือข่ายในพื้นที่เป้าหมายสามารถใช้ระบบข้อมูลองค์ความรู้ชุมชนได้อย่างมีประสิทธิผลและมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในขบวนการของชนเผ่าพื้นเมือง ทั้งในระดับภาคและระดับชาติ และมีส่วนร่วมในกระบวนการจัดทำนโยบาย การบริหารจัดการและมีความรับผิดชอบในระดับต่างๆ

เพื่อบรรลุถึงวัตถุประสงค์โดยรวม ตัวโครงการได้กำหนดวัตถุประสงค์เฉพาะไว้ดังนี้

  • เพื่อเสริมสร้างศักยภาพขององค์กรชุมชนและสมาชิกชุมชนให้สามารถจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลระดับจุลภาคเกี่ยวกับสถานการณ์ทางสังคม-เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและการเมือง และมีทักษะในงานรณรงค์เพื่อให้สามารถเข้าร่วมเจรจาเชิงนโยบายกับหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานที่ไม่ใช่ภาครัฐได้อย่างมีประสิทธิผลเพื่อให้สิทธิของพวกเขาได้รับการยอมรับ
  • เพื่อจัดตั้งระบบศูนย์ข้อมูลองค์ความรู้ชุมชนที่เปิดให้เข้าถึงได้ สำหรับนำไปใช้วางแผน ส่งเสริมการบริหารจัดการที่ดีและสร้างความรับผิดชอบอย่างมีส่วนร่วม โดยผ่านการขับเคลื่อนและสนับสนุนชุมชน และความร่วมมือและ/หรือการติดตามแผนงานที่ได้รับทุนและเข้าไปดำเนินงานในพื้นที่เป้าหมายต่างๆ
3. กิจกรรมโครงการ

โครงการมีกิจกรรมหลัก 3 องค์ประกอบ คือ

  • องค์ประกอบที่ 1 การเสริมสร้างความเข้มแข็งและการจัดทำข้อสนเทศ
  • องค์ประกอบที่ 2 การสร้างความตระหนักและงานสนับสนุน
  • องค์ประกอบที่ 3 การสื่อสารและการรณรงค์

IMG_6827 - Copy

องค์ประกอบที่ 1: การเสริมสร้างความเข้มแข็งและการจัดทำข้อสนเทศ

องค์ประกอบนี้จะช่วยหนุนเสริมศักยภาพและความมั่นใจให้กับชุมชนชนเผ่าพื้นเมืองที่เปราะบาง และจัดทำข้อสนเทศที่มีความน่าเชื่อถือสำหรับนำไปใช้ในการรณรงค์และการสนับสนุน โดยทำความเข้าใจและประยุกต์ใช้กฎหมายแห่งชาติ รวมทั้งกรอบงานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ โดยเฉพาะปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิชนเผ่าพื้นเมือง (UNDRIP) กิจกรรมนี้ยังช่วยเสริมสร้างความเข้าใจให้กับชุมชนในเรื่องกฎหมายแห่งรัฐและการบริหารงานสาธารณะ และเสริมสร้างความร่วมมือและการร่วมงานระหว่างหน่วยงานในระดับท้องถิ่นและชุมชนชนเผ่าพื้นเมือง

กิจกรรมหลักๆ ได้แก่:

  • การฝึกอบรมผู้นำชุมชนเรื่องการทำวิจัยแบบมีส่วนร่วมและการรณรงค์ การจัดการองค์ความรู้ ฯลฯ
  • ทำงานวิจัยพื้นฐานและจัดทำแผนที่ชุมชน
  • ยกระดับ หรือขยายผลการปฏิบัติการที่ดี

องค์ประกอบที่ 2 – การสร้างความตระหนักและงานสนับสนุน

ชุมชนชนเผ่าพื้นเมืองส่วนใหญ่ยังขาดความตระหนักในเรื่องกฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับตัวเอง ส่วนหนึ่งเพราะขาดความรู้และตั้งถิ่นฐานอยู่ห่างไกล ดังนั้นกิจกรรมการสร้างความตระหนักและการรณรงค์จึงมีความสำคัญ และชุมชนต้องเป็นตัวหลักในการดำเนินการ งานรณรงค์จะเน้นการดำเนินงานตามกฎหมาย นโยบายและแผนงานที่มีอยู่แล้ว แต่ยังไม่มีการดำเนินการหรือดำเนินการไปไม่ดีนัก เช่น 1) มติคณะรัฐมนตรีว่าด้วยการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเลและชาวกะเหรี่ยง 2) ร่างแผนยุทธศาสตร์ด้านสังคมและสวัสดิการสำหรับชนเผ่าพื้นเมืองและกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย และ 3) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดให้มีโฉนดชุมชน เป็นต้น

กิจกรรมที่อยู่ภายใต้องค์ประกอบนี้ได้แก่

  • การสร้างความตระหนัก การปรึกษาหารือและการจัดเวทีให้กับชุมชนIMG_6883
  • การแบ่งปันข้อมูลกับชุมชนอย่างต่อเนื่อง
  • จัดทำเป้าหมายและยุทธศาสตร์การรณรงค์ที่ชัดเจน
  • ผลิตสื่อเพื่อการศึกษาและรณรงค์
  • สร้างหุ้นส่วนที่เข้มแข็งกับองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น

องค์ประกอบที่ 3 การสื่อสารและการรณรงค์

ปัญหาที่สำคัญประการหนึ่งของชุมชนชนเผ่าพื้นเมือง คือ การไม่มีข้อสนเทศที่สมบูรณ์และทันสมัยเกี่ยวกับพวกเขา ดังนั้น การจัดทำข้อสนเทศที่มีการจัดการอย่างเป็นระบบและเปิดให้มีการเข้าถึงโดยภาคส่วนต่างๆ จึงเป็นประเด็นที่ท้าทายและมีความจำเป็น ข้อสนเทศนี้จะมีการนำไปใช้ โดยเฉพาะหน่วยงานและผู้ปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง และผู้มีส่วนได้เสียของโครงการนี้

กิจกรรมหลักขององค์ประกอบนี้ได้แก่

  • การจัดตั้งศูนย์ข้อมูลออนไลน์ที่จัดการโดยมูลนิธิ ม.ก.ส และระบบข้อมูลที่ไม่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ทที่ชุมชนเป็นคนจัดการ รวมทั้งระบบองค์ความรู้และการเผยแพร่ข้อมูล
  • การรณรงค์ผ่านสื่อกระแสหลักและสื่อทางเลือก
  • สนับสนุนนักข่าวเยาวชนชนเผ่าพื้นเมือง โดยเฉพาะเครือข่ายสื่อชนเผ่าพื้นเมือง
  • สร้างแหล่งจัดเก็บองค์ความรู้ของชนเผ่าพื้นเมือง
. กลุ่มเป้าหมายIMG_6852 - Copy

มีสองกลุ่ม คือ กลุ่มเป้าหมายหลักและกลุ่มเป้าหมายรอง คือ

  • กลุ่มเป้าหมายหลักคือชุมชนชนเผ่าพื้นเมืองที่เปราะบางในพื้นที่ 15 จังหวัดของประเทศไทย ได้แก่
    มอแกน มอแกลน อุรักละโว้ย มานิ มลาบรี บีซู อึมปี ชอง ญัฮกูร และแสกIMG_6831 - Copy
  • กลุ่มเป้าหมายรอง คือ ผู้มีส่วนได้เสียภายนอก เช่นผู้แทนรัฐบาล และผู้แทนสถาบันของรัฐสถาบันพหุภาคีที่มีอยู่ในประเทศไทย (ILO และ UNICEF, UNESCO ฯลฯ)
    • คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และองค์การด้านสิทธิมนุษยชนกระแสหลัก
    • นักวิชาการและสถาบันที่เกี่ยวข้อง – อาทิเช่น มหาวิทยาลัยและสถาบันอื่น ๆ – รวมทั้งสื่อด้วย
  1. พื้นที่การดำเนินงาน    จังหวัดเชียงราย แพร่ น่าน ชัยภูมิ นครราชสีมา เพชรบูรณ์ จันทบุรี สกลนคร นครพนม ภูเก็ต พังงา กระบี่ ระนอง สตูล
6. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  • หนุนเสริมองค์กรจากฐานชุมชนและพัฒนาศักยภาพในการจัดทำเอกสารและปฏิบัติการของชุมชนเพื่อมีส่วนร่วมและมีส่วนในกระบวนการการเจรจาเชิงนโยบายในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ รวมทั้งการติดตามกำกับและการประเมินผล
  • เพิ่มปฏิบัติการสร้างความตระหนัก การสร้างเครือข่ายและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับองค์กรชนเผ่าพื้นเมืองและองค์กรภาคประชาสังคมอื่น ๆ และการมีส่วนร่วมในงานสนับสนุนและการปฏิรูปกฎหมายโดยใช้กรอบของสิทธิชนเผ่าพื้นเมือง
  • เพิ่มการจัดทำเอกสาร การแบ่งปันและเผยแพร่ความรู้ในประเด็นที่เกี่ยวข้องในหมู่ชุมชนชนเผ่าพื้นเมืองและกับหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

 7.ระยะเวลาการดำเนินงาน    โครงการนี้มีระยะเวลาในการดำเนินงาน 3 ปี คือ 2559 – 2561

แผ่นพับแนะนำโครงการไฟล์เล็ก_Page_1

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

แผ่นพับแนะนำโครงการไฟล์เล็ก_Page_2